วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บ้านท่าสว่าง สรรค์สร้างผ้าไหมสุรินทร์ยกทอง

สุรินทร์                 ถิ่นช้างใหญ่ 
                                       ผ้าไหมงาม                 ประคำสวย 
                                       รำรวยปราสาท             ผัดกาดหวาน 
                                       ข้าวสารหอม               งามพร้อมวัฒนธรรม 



ผ้าไหมสุรินทร์ยกทอง

        เมื่อพูดถึงบ้านท่าสว่าง ณ ตอนนี้คงไม่มีใครไมรู้จักบ้านท่าสว่างเลย เนื่องจากบ้านท่าสว่างนั้นเป็นหมู่บ้านที่ มีช่างทำผ้าไหมสุรินทร์ ที่วิจิตร งดงาม ตระการตา มีลวดลายอันประณีต ด้วยการทำผ้า ยกทอง "หนึ่งพันสี่ร้อยสิบหกตะกอ" ซึ่งความอลังการนี้เองที่บ่งบอกถึงศิลปวัฒธรรมของบรรพบุรุษชาวสุรินทร์ ถ่ายทอดมายังรุ่นลูกหลาน รังสรรค์ผืนผ้าไหมสุรินทร์ ที่เป็นผ้ายกทองที่มีความสวยงามอย่างยิ่ง เมื่อครั้งทอผ้าทองขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตพระบรมราชินีนาถ 

เส้นไหมที่ใช้ถักทอ
       ผืนผ้าไหมอันวิจิตรอลังการนี้เป็นศิลปะการทอผ้ายกทองชั้นสูงของราชสำนักไทย ด้วยการออกแบบลวดลายที่ สลับซับซ้อน วิจิตร งดงาม ผสมผสานกันระหว่างการทอแบบราชสำนักไทยและเทคนิคการทอแบบพื้นบ้านสุรินทร์ เส้นไหมที่นำมาทอผ้ายกทองนั้น ได้จากการนำเส้นเงินบริสุทธิ์ มาปั่นควบกับเส้นไหมแล้วนำมาถักทอจนได้กลายเป็นผืนผ้า และสีที่ใช้ย้อมนั้นก็เป็นที่ได้จากสีธรรมชาติ ทำให้ผืนผ้าไหมที่ได้นั้นมีคุณค่าอย่างยิ่ง ทั้งทางด้านมูลค่า และจิตใจ  ภูมิปัญญานี้ได้ศึกษาค้นความโดย อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ได้ทุ่มแรงกายแรงใจจนได้ผืนผ้าอันแสนวิจิตรขึ้นมา

อาจารย์วีระธรรม ตระกูลเงินไทย
ผู้สรรค์สร้างผ้าไหมสุรินทร์
จำนวนตะกอมากมายทำให้ได้ผ้า
ที่มีลวดลายวิจิตร
        กระทั่งในปี พ.ศ. 2546 ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการประชุม APEC บ้านท่าสว่างจึงได้รับคัดเลือกให้บ้านท่าสว่างเป็นผู้ทอผ้าไหมมอบแด่ ผู้นำแต่ละประเทศผู้นำ APEC จนทำให้ "บ้านท่าสว่าง" มีชื่อเสียงกระฉ่อนไปทั่วโลก และจังหวัดสุรินทร์ ก็ได้รับสมญานามว่า เป็นราชาและราชินีแห่งผ้าไหม


https://sites.google.com/site/jirawanwattrong/surinthr/c-kar-thxng-theiyw/-pha-him-yk-thxng-boran-ban-tha-swang

1 ความคิดเห็น:

  1. ผ้าไหม..เป็นวัฒนธรรมที่ตกทอดกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้าไหมอิสานใต้
    เนื้อหานี้เป็นเนื้อหาที่ดีมากครับได้เรียนรู้เรื่องราวที่ดีๆในท้องถิ่นที่สืบทอดกันมานานแสนนาน

    ตอบลบ